เป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจกับข่าวเมื่อสัปดาห์ก่อน ที่นักเรียนหญิงอายุ 14 ด้วยปัญหาทางบ้านจนทำให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้าและจบชีวิตตัวเองลง
.
ปัญหาเรื่องสุขภาพจิต โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า จะเกี่ยวข้องกับระดับสารซีโรโทนินที่ต่ำกว่าปกติ เป็นปัญหาสุขภาพที่เราไม่ควรมองข้าม ยิ่งในยุคปัจจุบัน ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนี้มันมีมากมาย โรคบางโรคก็ทำให้เกิดภาวะเช่นนี้ได้เหมือนกัน อย่างโรคปวดศีรษะไมเกรน ผู้ป่วยไมเกรนมักจะมีโรคร่วมเป็นโรคซึมเศร้าได้มากถึง 40% เชียวนะ
.
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เราจะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงง่ายๆ ได้ทั้งหมด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านอารมณ์ ด้านการนึกคิด ด้านพฤติกรรม และอาการทางด้านร่างกายต่างๆ
.
อาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า อาจจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไปเป็นเดือนๆ หรือรวดเร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ ก็สามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน
.
นอกจากนั้น ในปี ค.ศ. 2010 นักวิจัย ได้รวบรวมข้อมูลของ รหัสพันธุกรรมชื่อ serotonin 5-HTTLPR polymorphism ที่มันจะคอยทำหน้าที่ในการรับส่งสารซึมเศร้า
.
คนที่มียีนนี้ผิดปกติ จะเกิดซึมเศร้าได้ง่าย
.
แต่มันไม่ใช่ แค่ซึมเศร้าหนะสิ เพราะเจ้ารหัสพันธุกรรมนี้
ดันทำให้เกิดไมเกรน มากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่า โดยเฉพาะในผู้หญิงอีกด้วย
.
ตัวโรคไมเกรนเองนั้น ด้วยความทุกช์ทรมานของโรคที่ต้องปวดหัว ยังทำให้ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ วันดีคืนดีก็กังวลว่ามันจะปวดขึ้นมาอีกเมื่อไหร่ แล้วแบบนี้จะไม่ให้จิตใจห่อเหี่ยวเป็นซึมเศร้าได้อย่างไรกัน
.
วันนี้ทีมสไมล์ไมเกรน ได้เอาบทความจาก Medical News Today มาเล่าให้ชาวไมเกรนได้ฟังกัน ถึงหลักฐานที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างไมเกรนและปัญหาสุขภาพจิต (Mental Health)
.
จากการสำรวจในผู้ใหญ่กว่า 6,000 คน พบว่าผู้ที่เป็นไมเกรนมีความเสี่ยงมีปัญหาเรื่องสุขภาพจิตมากว่าผู้ที่ไม่เป็นไมเกรนถึง 2 เท่า และผู้ที่เป็นไมเกรนจะมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้าได้มากกว่าผู้ที่ไม่เป็นถึง 5 เท่า
.
ซึ่งสัดส่วนแนวโน้มการเกิดโรคนี้เป็นผลมาจากความถี่ของอาการปวดศีรษะไมเกรนที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นไมเกรนเรื้อรัง ปวดบ่อยมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันเกิน 3 เดือน (Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry)
.
นอกจากนี้ ผู้ป่วยไมเกรนประมาณ 1 ใน 3 จะมีโรคร่วมเป็นโรคไบโพล่า และผู้ป่วยไบโพล่ากว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยไมเกรน
.
วันนี้ทีมสไมล์ ไมเกรน จะพามาทำความรู้จักกับโรคไบโพล่าเพิ่มเติมกัน
โรคไบโพล่า จะแบ่งออกเป็น2 อาการหลัก ได้แก่ อารมณ์คลุ้มคลั่ง และ อารมณ์ซึมเศร้า
# อารมณ์คลุ้มคลั่ง (Manic episode) ช่วงนี้จะมีอาการกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ คิดฟุ้งซ่าน
# อารมณ์ซึมเศร้า (Depressive episode) ในช่วงนี้จะมีอาการซึมเศร้า เบื่ออาหาร รู้สึกไร้ค่า
.
จะเห็นได้ว่า หากเป็นไมเกรนได้หนึ่งโรคแล้ว จะมีเพื่อนโรคร่วมเต็มไปหมดโดยเฉพาะ โรคที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิต ทั้งนี้จากการศึกษาแล้วพบกว่า ไม่ว่าผู้ป่วยจะปวดด้วยโรคใดโรคหนึ่งก่อน ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 โรคจะแน่นแฟ้นและค่อยๆ พัฒนาไปด้วยกัน หรือเราเรียกว่าเป็นเหมืแนความสัมพันธ์ 2 ทิศทาง
.
และที่ตลกร้ายที่สุด จากผลการศึกษาคนในครอบครัวที่เป็นพี่น้องกันในปี 2021 พบว่า ผู้ที่มีพี่น้องที่เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรนมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 40% มากกว่าผู้ที่ไม่มีพี่น้องที่เป็นโรคปวดศีรษะไมเกรน
.
แม้ว่าโรคปวดศีรษะไมเกรนจะเกิดขึ้นเองก็ตาม สอดคล้องกับผลการศึกษาที่ไปในทิศทางเดียวกันของผู้ที่มีมีพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้าจะมีแนวโน้มเป็นโรคปวดศีราะไมเกรนมากกว่า 45%
.
จะว่าไปแล้วสาเหตุหลักอาจเกิดมาจากพันธุกรรม เพราะเป็นอีกหนึ่งสาเหตุ ที่ทำให้เราเป็นไมเกรน ได้มากถึง 60% หรือมาจากปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมในครอบครัว หรือทั้งสองอย่างร่วมกันก็เป็นได้
.
นั่นหมายความว่า ในเรื่องของการรักษาโรคปวดศีรษะไมเกรน ควรที่จะทำไปพร้อมๆ กับการรักษาโรคร่วมนั่นเอง
.
เพราะบางที สิ่งกระตุ้นบางตัว อาจจะทำให้เพิ่มความรุนแรงทั้งสองโรคได้ อย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือ ความเครียด ความวิตกกังวล เหมือนเป็นความสัมพันธ์สองทิศทาง
.
และบางครั้งการที่เรามีโรคร่วมอื่นๆ ด้วย จะทำให้แพทย์พิจารณาใช้ยาป้องกันได้เหมาะสมกับตัวเรามากขึ้น
และสามารถช่วยรักษาได้ทั้ง 2 โรค เช่น ยาในกลุ่มต้านเศร้า หรือแม้กระทั่งยาตัวไหนที่มีผลข้างเคียงในเรื่องของทำให้เกิดภาวะทางอารมณ์มากขึ้น แพทย์ก็จะเลี่ยงการจ่ายยาตัวนั้น อย่างเช่น ยา Flunarizine มีผลข้างเคียงในเรื่องของเสี่ยงซึมเศร้าได้ง่ายมากขึ้น จึงมีข้อควรระวังในการใช้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั่นเอง
.
การแจ้งและปรึกษาคุณหมอเฉพาะทาง จึงมีสิ่งสำคัญมากๆ เพื่อให้การรักษาไมเกรนเหมาะสมกับเรามากขึ้นและโรคร่วมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนะชาวไมเกรน
.
ขอบคุณบทความดีๆ จาก https://www.medicalnewstoday.com/articles/evidence-connecting-migraine-and-mental-health#lifestyle-changes
https://www.rama.mahidol.ac.th/ramamental/generalknowledge/general/09042014-1017