Rimegepant ยาไมเกรน ที่เป็นทั้งยาแก้ปวดและยาป้องกันในเม็ดเดียว

Rimegepant  ยาไมเกรน ที่เป็นทั้งยาแก้ปวดและยาป้องกันในเม็ดเดียว

หลายคนคงจะได้ยินกันมาบ้างแล้ว ว่าในปี 2024 นี้จะมียาใหม่สำหรับผู้ป่วยไมเกรน ที่กำลังผ่าน อย.ไทยและจะวางจำหน่ายในปีนี้ ตัวนั้นก็คือ Rimegepant 

ซึ่งยาตัวนี้เป็นเหมือนประวัติศาสตร์หน้าใหม่ (New Era) สำหรับยารักษาไมเกรน จากเมื่อประมาณ 5 - 6 ปีก่อน ที่มีการเปิดตัวยาฉีดพุง ที่ใช้ในการรักษาไมเกรนโดยเฉพาะ เป็นที่ฮือฮา ทั้งในเรื่องราคา และผลข้างเคียงที่น้อยมาก แทบจะไม่มี 

มาในปีนี้ ปีที่กำลังจะก้าวเข้าสู่เดือนของผู้ป่วยไมเกรน หรือ Migraine Awareness Month ก็ได้มีการเปิดตัวยาใหม่ เหมือนเป็นการเฉลิมฉลองให้กับผู้ป่วยไมเกรน ที่จะมีทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้เราเลยจะมีพูดถึงยาตัวนี้กันว่ามันเป็นยังไง ออกฤทธิ์แบบไหน แล้วมีดีกว่ายากินที่ทานรักษาไมเกรนอยู่อย่างไร

 

Rimegepant คืออะไร? 


Rimegepant เป็นยาเม็ดชนิดแรกของกลุ่ม Anti-CGRP หรือ CGRP receptor antagonist ที่ได้รับอนุมัติจาก FDA ในอเมริการตั้งแต่ปี 2020 เป็นยาที่อยู่ในรูปแบบชนิดเม็ด ทานโดยการให้อมใต้ลิ้นและละลายในปากได้อย่างรวดเร็ว เหมาะมากสำหรับผู้ป่วยไมเกรนที่ไม่อยากฉีดยา หรือต้องถูกจิ้มเข็ม

สำหรับการออกฤทธิ์ของ Rimegepant จะทำงานโดยการไปยับยั้งการทำงานของ calcitonin gene-related peptide (CGRP) ที่เชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้ปวดศีรษะไมเกรน 
 


ข้อดีของยา Rimegepant คืออะไร?

  • เป็นยาเม็ดชนิดแรก ที่ใช้เป็นยาแก้ปวดหัวไมเกรน และรักษาไมเกรนได้ นั่นเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดมาก่อน เราอาจเคยชินว่า ยาแก้ปวด ก็คือยาแก้ปวด ยาป้องกันรักษา ก็คือยาป้องกันรักษา แต่ Rimegepant ถูกออกแบบให้เป็นยาที่มีฤทธิ์ สองรูปแบบ โดยกรณีใช้ตัวยา Rimegepant สำหรับเป็นยาป้องกันไมเกรน จะแนะนำทานยาครั้งละ 1 เม็ด (75 mg) วันเว้นวันในไมเกรน แสดงว่า วันไหน ที่ปวดหัวแล้วกินยาตัวนี้ มันก็แก้ปวดได้ด้วย และกินเพิ่มได้ในวันที่ไม่ได้ทานเป็นยาป้องกัน เพื่อเสริมอีกด้วย 
  • ออกฤทธิ์รวดเร็ว เนื่องจาก Rimegepant ถูกออกแบบมาในรูปแบบยาเม็ดที่ละลายในช่องปาก (ODT) ที่สะดวก ละลายบนลิ้นอย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องใช้น้ำ จึงทำยาเข้าสู่กระแสเลือดได้เร็วขึ้น แม้มีอาการร่วมคลื่นไส้อาเจียน ก็ไม่ทำให้ยาถูกอาเจียนออกมาด้วย โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ในการระงับปวดภายใน 1 ชั่วโมง ระงับปวดได้ยาวนานถึง 48 ชั่วโมง
  • หลายคนกังวลว่าละลายในช่องปากแล้วจะรสชาติตัวยาจะขมไหม? ตัว Rimegepant ทำมาในรูปแบบเม็ดละลายในช่องปาก รสมิ้น จึงทำให้ง่ายต่อการทาน
  • ลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดซ้ำ สำหรับผู้ป่วยไมเกรน คงทราบดีว่า เวลาไมเกรนมาแล้ว การทานยาแก้ปวดไปแล้ว ใช่ว่าอาการปวดหัวไมเกรนจะหายไปเลย บางทีมันยังมีปวดค้าง ต้องทานยาแก้ปวดซ้ำ ทำให้เราต้องทานยาแก้ปวดมากเกินความจำเป็น จนในคนไข้หลายคนมีภาวะปวดหัวจากสมองติดยาแก้ปวด (Medication Overuse Headache) ซึ่งเป็นภาวะร่วมไมเกรนที่เกิดได้บ่อย แต่ตัว Rimegepant จากการทดลองทางคลินิก พบว่าผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับการรักษาไม่จำเป็นต้องใช้ยาแก้ปวดเพิ่มเติมภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากรับประทานยาแล้ว
  • ผลข้างเคียงน้อย การที่ Rimegepant เป็นยาที่มีความจำเพาะสูง ทำให้ผลข้างเคียงต่ำ โดยเมื่อเทียบกับยาแก้ปวด กลุ่ม ทริปแทน พบว่า ไม่มีผลข้างเคียงที่ทำให้เวียนหัวหรือเจ็บออก นอกจากนี้ ยังปลอดภัยสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคทางหลอดเลือดอีกด้วย เนื่องจากยาไม่ได้ทำให้เกิดหลอดเลือดหดตัว จึงปลอดภัยในกลุ่มของคนเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง ที่ห้ามกินยาแก้ปวดไมเกรนชนิดอื่น ๆ 
  • เป็นยาเม็ดที่ใช้ในการรักษาที่เฉพาะเจาะจงกับไมเกรน ชนิดแรก เหมาะกับคนที่กลัวเข็ม ไม่อยากฉีดยา

ข้อเสียของยา Rimegepant คืออะไร?

  • ราคาสูง กรณีเทียบกับยาแก้ปวดกลุ่มจำเพาะต่อไมเกรนที่มีอยู่ในตลาด แต่หากใช้เป็นยาป้องกันไมเกรน ราคาจะเทียบเคียงกับยากลุ่ม Anti - CGRP ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน . 
     

 


กลไกการทำงานของยา Rimegepant

 

กลไกการทำงานของยา Rimegepant


ภาพนี้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับยา "Rimegepant" ซึ่งเป็นยาที่ใช้ในการรักษาไมเกรน โดยยามีการทำงานดังนี้:

Rimegepant เป็นตัวยับยั้งตัว CGRP -  CGRP คือโปรตีนที่ส่งสัญญาณทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ และยา Rimegepant จะเข้าไปยับยั้งตัว CGRP ซึ่งช่วยในการรักษาไมเกรนอย่างตรงจุด

กลไกการทำงานของ Rimegepant:

  • ยับยั้งการส่งสัญญาณความเจ็บปวด: Rimegepant จะเข้าไปยับยั้ง CGRP จากการส่งสัญญาณไปยังเส้นประสาทไตรเจมินัล (trigeminal nerve)
  • ยับยั้งการขยายตัวของหลอดเลือดโดยไม่ทำให้เกิดการหดตัว: CGRP ทำให้หลอดเลือดในสมองขยายตัว แต่ Rimegepant ยับยั้งกระบวนการนี้โดยไม่ทำให้หลอดเลือดหดตัว
  • ยับยั้งการอักเสบที่เส้นประสาท: CGRP ทำให้เกิดการอักเสบในเส้นประสาท แต่ Rimegepant จะเข้าไปยับยั้งกระบวนการนี้

สรุปง่ายๆ คือ Rimegepant เป็นยาที่ออกแบบมาเพื่อยับยั้งการทำงานของ CGRP ซึ่งเป็นโปรตีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดไมเกรน โดยทำงานผ่านการยับยั้งการส่งสัญญาณความเจ็บปวด การขยายตัวของหลอดเลือด และการอักเสบที่เกิดจากประสาท



 

ประสิทธิภาพของยา Rimegepant
 

ประสิทธิภาพในการบรรเทาปวดของยา Rimegepant



ภาพนี้แสดงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยา "Rimegepant" ในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนและช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจกรรมตามปกติได้ภายในเวลา 1 ชั่วโมง โดยมีข้อมูลสรุปดังนี้ :

Rimegepant บรรเทาอาการปวดและทำให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจกรรมปกติภายใน 1 ชั่วโมง:

  • จากการทดลองพบว่า Rimegepant ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีนัยสำคัญ และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติได้หลังจากมีอาการไมเกรนเมื่อเทียบกับยาหลอก (placebo)

ระยะเวลาในการบรรเทาอาการปวด :

  • 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา: มีผู้ป่วยที่ได้รับ Rimegepant 37% มีอาการปวดลดลง เมื่อเทียบกับยาหลอกที่มีผู้ป่วย 31%
  • 2 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา: มีผู้ป่วยที่ได้รับ Rimegepant 59% ที่มีอาการปวดลดลง เมื่อเทียบกับยาหลอกที่มีผู้ป่วย 43%

ระยะเวลาที่ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ :

  • 1 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา: มีผู้ป่วยที่ได้รับ Rimegepant 22% ที่สามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติ เมื่อเทียบกับยาหลอกที่มีผู้ป่วย 16%
  • 2 ชั่วโมงหลังจากใช้ยา: มีผู้ป่วยที่ได้รับ Rimegepant 38% ที่สามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติ เมื่อเทียบกับยาหลอกที่มีผู้ป่วย 26%

หมายเหตุเพิ่มเติม:

  • การบรรเทาอาการปวด (Pain relief) หมายถึงการลดลงของอาการปวดศีรษะจากระดับปานกลางถึงรุนแรงไปเป็นระดับเล็กน้อยหรือไม่มีเลย
  • การกลับมาทำกิจกรรมตามปกติ (Back to normal activities) หมายถึงการกลับไปทำกิจกรรมตามปกติ

จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Rimegepant มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการปวดไมเกรนและช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาทำกิจกรรมตามปกติได้เร็วกว่าเมื่อเทียบกับการใช้ยาหลอก


 

โดยสรุปแล้วตัวยา Rimegepant ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของผู้ป่วยไมเกรน ที่จะได้เข้าถึงยาที่ใช้ในการรักษาโรคโดยเฉพาะ แต่ทั้งนี้สไมล์ ไมเกรน เอง ก็ไม่ได้อยากให้ผู้ป่วยไมเกรนพึ่งพิงแต่การทานยาแก้ปวด อยากให้ผู้ป่วยไมเกรนทานยาเพื่อให้ไมเกรนมันสงบลง ลดความไวของสมองต่อสิ่งกระตุ้น ลดความถี่และความรุนแรงของไมเกรนลง แต่อย่าลืมว่าผู้ป่วยต้องหมั่นออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ หากิจกรรมทำคลายเครียดและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นด้วยการปรับพฤติกรรมที่อาจส่งผลให้กระตุ้นไมเกรนร่วมด้วย

สำหรับวันนี้ บทความนี้เราก็ได้มาทำความรู้จักยาตัวใหม่กันแล้วแล้ว ว่ามันเป็นยังไง ออกฤทธิ์ยังไง ทานยังไง เดี๋ยวบทความหน้า ทีมงาน Smile Migraine ยังจะมีสาระดีๆ ที่จะมาบอกเล่าถึงประสบการณ์ของผู้ป่วยไมเกรนที่เคยใช้ยาตัวนี้ในต่างประเทศมาแล้ว ว่ามันเป็นยังไงกัน อย่าลืมฝากติดตามกันนะคะ


จองคิวตรวจรักษา ที่ แอปฯ Smile Migraine : https://onelink.to/fq5kra
หรือปรึกษาผ่าน LINE Add : @sm-clinic (มี @ ข้างหน้า)

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ