ยาฉีดระงับไมเกรน

ยาฉีดระงับไมเกรน

CGRP คืออะไร?

CGRP หรือชื่อเต็มว่า Calcitonin Gene-Related Peptide เป็นสารสื่อประสาท (Neuropeptide) ที่มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมความเจ็บปวดและการอักเสบของร่างกาย สามารถพบได้ทั่วร่างกาย แต่มักจะอยู่กันเยอะๆ ที่ระบบประสาทและ ระบบหัวใจและหลอดเลือด

 

CGRP ทำงานอย่างไร?

โดยเจ้าสารสื่อประสาทนี้จะมีความสำคัญเมื่อเกิดไมเกรน โดยเจ้า CGRP นี้จะถูกปล่อยออกมาจากเซลล์ประสาท Trigeminal มาจับกับตัวรับส่งผลให้หลอดเลือดขยายตัว ส่งสัญญาณความปวดไปที่ระบบประสาทส่วนกลางและส่วนปลาย และจากการศึกษาพบว่ายิ่งระบบประสาทส่วนนี้ถูกกระตุ้นมากเท่าไหร่ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายไวต่อความปวดมากยิ่งขึ้นเท่านั้น รวมถึงการปล่อย CGRP ที่มีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นเมื่อปวดไมเกรน

.

นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมว่า ตอนที่ปวดหัวไมเกรนกำเริบ ระดับของ CGRP ในเลือดของผู้ป่วยจะสูงขึ้น ดังนั้นเวลาที่ปวดหัวไมเกรนและได้รับยาแก้ปวดกลุ่มที่จำเพาะกับไมเกรน อย่างกลุ่ม Triptan จะช่วยลดระดับ CGRP ในเลือด เพราะตัวยาจะเข้าไปจับและกระตุ้นตัวรับเซราโทนิน (5HT receptor)ในสมอง ให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือดและลดการอักเสบ

.

ยาที่ต้าน CGRP นี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม

ได้แก่

กลุ่มที่ 1. CGRP receptor antagonists (ยากลุ่ม Gepants) ตอนนี้มีตัวยาออกมาแล้ว ชื่อว่า Rimegepant เป็นยาใหม่ที่ยังไม่เข้าไทย แต่มีจำหน่ายแล้วที่ประเทศอเมริกา 

.

กลุ่มที่ 2. CGRP function-blocking monoclonal antibodies (CGRP function-blocking mAbs) หรือยาฉีดที่ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

.

ซึ่งกลุ่มที่ 2 นี้ จุดเด่นจะมีความจำเพาะต่อ CGRP หรือ CGRP receptor สูง ผลข้างเคียงน้อย อีกทั้งจากการศึกษาทางคลินิกในสัตว์แล้วไม่มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจและระดับความดันโลหิต ปัจจุบันยากลุ่มนี้มีด้วยกัน 3 ชนิดได้แก่ fremanezumab, galcanezumab และ erenumab

.

ซึ่งชนิดที่ 1 fremanezumab กับ 2 galcanezumab จะเป็นประเภท humanized mAbs คือยาจะไปจับกับ CGRP โดยตรง (รูป Ref.ตรงกลาง)

แต่ชนิดที่ 3 erenumab จะเป็นประเภท fully human mAbs คือจะจับกับทั้ง CGRP โดยตรง และเข้าไปจับกับตัวรับ CGRP ด้วย (รูป Ref.ขวาสุด)

จึงทำให้การรักษาด้วยยาฉีดกลุ่มต้าน CGRP นี้เป็นการรักษาอาการปวดไมเกรนที่ต้นเหตุ กล่าวคือเข้าไปสยบตัวการการปวด บล็อก CGRP ไม่ให้ส่งสารความเจ็บปวดได้

 

ใครควรที่จะรับการรักษาด้วย anti-CGRP บ้าง?

  1. รักษาด้วยยาป้องกันชนิดอื่นๆ แล้วไม่เห็นผล
  2. ทนผลข้างเคียงตัวยาป้องกันชนิดอื่นๆ ไม่ได้
  3. ไมเกรนเรื้อรัง (ปวดศีรษะมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกัน 3 เดือน)

.

ผลการวิจัยต่างๆ 

จากการศึกษา Danish Headache Center ที่เดนมาร์ค ในคนไข้ไมเกรนเรื้อรัง (Chronic Migraine) ปวดไมเกรนมากกว่า 15-30 วันต่อเดือน จำนวน 300 คน ที่ได้ยา Erenumab พบว่า ผู้ป่วยมีการตอบสนองต่อยาตั้งแต่วันแรกที่ฉีด และมีการตอบสนองที่ชัดเจนมากขึ้นในสัปดาห์แรก 

.

และหลังจากที่มีการติดตามผู้ป่วยไปในระยะเดือนที่ 2 และเดือนที่ 3 พบว่า ผู้ป่วยกว่า 71% ที่มีอาการปวดศีรษะไมเกรนลดงลงจากเดือนก่อน 30% และกว่า 56% มีอาการปวดศีรษะลดลงเกิน 50% นั้นแปลได้ว่าถ้าคุณเป็นคนที่ปวดศีรษะทุกวันหรือเกือบทุกวัน การฉีดตัวยาที่ต้าน CGRP นี้จะมีโอกาสช่วยลดจำนวนวันปวดศีรษะให้ลดไปมากกว่าครึ่งหนึ่ง

ดังนั้นจึงจะเห็นได้ว่า คำว่า CGRP กับไมเกรนนั้นมีความสัมพันธ์กันโดยตรง เพราะเจ้าตัวนี้แหละที่เป็นตัวกระตุ้นและสร้างความเจ็บปวดให้กับไมเกรน

 


 

แหล่งที่มา :

https://thejournalofheadacheandpain.biomedcentral.com/articles/10.1186/s10194-022-01433-9


 Footer Tele Blog - Ai (3).png

 



 

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ