อาการปวดศีรษะแบบไมเกรนเป็นโรคเรื้อรังที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก แม้ว่า "Triptan" จะเป็นกลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาไมเกรนเฉียบพลันเป็นทางเลือกแรกในปัจจุบัน แต่ผู้ป่วยถึง 30% ไม่ตอบสนองต่อยาในกลุ่มนี้ หรือมีผลข้างเคียงที่ไม่สามารถทนได้ ทำให้พวกเขากลายเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "Triptan non-responders" สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยาในกลุ่มใหม่อย่าง Lasmiditan, Rimegepant และ Ubrogepant ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจและอาจช่วยตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับยาใหม่เหล่านี้ โดยอ้างอิงจากงานวิจัย "Systematic Review and Network Meta-analysis" ของทีมวิจัย CHOP Research Group จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่เผยแพร่ในวารสาร The Journal of Headache and Pain ปี 2024 (https://bit.ly/40uRoXL)
เรามาทำความเข้าใจกับกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อ Triptan (Triptan Non-Responders)
Triptan เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับเซโรโทนินชนิด 5-HT1B/1D ซึ่งช่วยลดการขยายตัวของหลอดเลือดในสมอง และลดการส่งสัญญาณปวดจากเส้นประสาทไตรเจมินัล แต่สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยบางคนไม่ตอบสนองต่อยาในกลุ่มนี้ อาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
- การดูดซึมยาที่ไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน
- การใช้ยาล่าช้า เมื่ออาการปวดหัวเริ่มรุนแรงแล้ว จึงทำให้ยามีประสิทธิภาพน้อยลง
- ปัญหาทางพันธุกรรม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำงานของเอนไซม์และตัวรับสารสื่อประสาท
ผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและยาวนานกว่า 24 ชั่วโมง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงาน จึงเป็นกลุ่มที่ต้องการการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำความรู้จักกับยากลุ่มใหม่: Lasmiditan, Rimegepant และ Ubrogepant
ยาในกลุ่มใหม่นี้มีคุณสมบัติที่แตกต่างจาก Triptan โดยออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับไมเกรน ดังนี้
- Lasmiditan: ยาในกลุ่ม Ditans ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นตัวรับเซโรโทนินชนิด 5-HT1F ซึ่งแตกต่างจาก Triptan เพราะไม่มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ ยากลุ่มนี้ยังไม่มีในประเทศไทย
- Rimegepant: ยาในกลุ่ม Gepants ซึ่งเป็นสารยับยั้งตัวรับ CGRP (Calcitonin Gene-Related Peptide) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นการอักเสบและส่งสัญญาณปวดในสมอง ยากลุ่มนี้นี้เข้าไทยและผ่าน FDA ไทยแล้วตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2024
- Ubrogepant: ยาในกลุ่ม Gepants อีกตัวหนึ่งที่มีหลักการทำงานคล้ายกับ Rimegepant แต่ได้รับการอนุมัติให้ใช้เฉพาะในกรณีรักษาไมเกรนแบบเฉียบพลันเท่านั้น ยากลุ่มนี้ยังไม่มีในประเทศไทย
ผลการศึกษา: ประสิทธิภาพของยาในการบรรเทาอาการไมเกรน
งานวิจัยนี้ได้ทำการเปรียบเทียบผลของ Lasmiditan, Rimegepant และ Ubrogepant ผ่านการทบทวนและวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุม (Randomised Controlled Trials - RCTs) จำนวน 5 งานวิจัย รวมผู้ป่วยทั้งหมด 3,004 ราย ผลการวิจัยพบว่า
อาการปวดหัวดีขึ้นภายใน 2 ชั่วโมง (2-Hour Pain Freedom) หลังจากได้รับยา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยไมเกรนที่ได้รับยา Lasmiditan ขนาด 200 มก. เมื่อมีอาการปวดไมเกรนเฉียบพลัน มีโอกาสหายปวดหัวได้มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก (Placebo) ถึง 2.33 เท่า ภายในระยะเวลา 2 ชั่วโมง
ช่วยลดอาการร่วมของไมเกรนได้ดีที่สุดภายใน 2 ชั่วโมง (2-Hour MBS Freedom)
Rimegepant แสดงผลลัพธ์ที่ดีกับไมเกรนที่มาพร้อมกับอาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้ ไวต่อแสงจ้า (Photophobia) และไวต่อเสียงดัง (Phonophobia) จากงานวิจัยพบว่า ค่า SUCRA ของ Rimegepant อยู่ที่ 0.7 (ค่า SUCRA เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของประสิทธิภาพ ถ้ายิ่งเข้าใกล้ 1.0 แสดงถึงประสิทธิภาพที่สูง)
ดังนั้น หากคุณมีอาการไมเกรนที่มาพร้อมกับอาการคลื่นไส้หรือไวต่อแสงและเสียง การใช้ Rimegepant อาจช่วยลดความทรมานจากอาการร่วมเหล่านี้ได้ดีกว่ายาอื่น
Rimegepant แสดงผลลัพธ์ที่ดีกับไมเกรนที่มาพร้อมกับอาการร่วมอื่นๆ เช่น อาการคลื่นไส้ ไวต่อแสงจ้า (Photophobia) และไวต่อเสียงดัง (Phonophobia) จากงานวิจัยพบว่า ค่า SUCRA ของ Rimegepant อยู่ที่ 0.7 (ค่า SUCRA เป็นค่าที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของประสิทธิภาพ ถ้ายิ่งเข้าใกล้ 1.0 แสดงถึงประสิทธิภาพที่สูง)
ดังนั้น หากคุณมีอาการไมเกรนที่มาพร้อมกับอาการคลื่นไส้หรือไวต่อแสงและเสียง การใช้ Rimegepant อาจช่วยลดความทรมานจากอาการร่วมเหล่านี้ได้ดีกว่ายาอื่น
ทำไม Rimegepant จึงมีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วย Triptan Non-Responders?
Rimegepant มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากยากลุ่ม Triptan ดังนี้:
- ไม่ก่อให้เกิดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้ปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีประวัติโรคหัวใจ
- รูปแบบเม็ดยา Orally Disintegrating Tablet (ODT) ทำให้สามารถดูดซึมได้รวดเร็ว แม้ในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้
- ออกฤทธิ์นานกว่า Triptan ทำให้ลดโอกาสการกลับมาเป็นซ้ำของอาการ โดย Rimegepant จะออกฤทธิ์ยาวนานถึง 48 ชั่วโมงตามงานวิจัย
นอกจากนี้ งานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า Rimegepant สามารถบรรเทาอาการได้ทั้งอาการปวดและอาการร่วม เช่น ความไวต่อแสงและเสียง ซึ่งเป็นจุดที่ยา Triptan มักทำได้ไม่ดี
ผลข้างเคียงของ Rimegepant และข้อควรระวัง
แม้ว่า Rimegepant จะมีผลข้างเคียงน้อยเมื่อเทียบกับยากลุ่ม Triptan แต่อาจมีอาการบางประการที่ต้องระวัง เช่น
- คลื่นไส้
- อาการปวดท้องเล็กน้อย
- ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ (แต่พบได้น้อยมาก)
ข้อควรระวัง: ผู้ที่มีโรคตับหรือกำลังใช้ยาที่มีผลต่อเอนไซม์ในตับ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
ทางเลือกใหม่ในการรักษาไมเกรน: ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อ Triptan การเลือกใช้ Rimegepant จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยที่จะช่วยลดอาการไมเกรน และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ และยาในกลุ่มนี้ไม่เพียงแค่ลดอาการปวด แต่ยังช่วยลดอาการรบกวนที่มาพร้อมกับไมเกรนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น จากงานวิจัยนี้ ชี้ให้เห็นว่า Lasmiditan, Rimegepant และ Ubrogepant เป็นยากลุ่มใหม่ที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อ Triptan
โดยเฉพาะ Rimegepant ที่แสดงผลลัพธ์ที่ดีในการลดอาการปวดไมเกรน และอาการร่วมที่มักจะมาพร้อมอาการไมเกรน อย่างคลื่นไส้ ไวต่อแสงและเสียง ภายในเวลา 2 ชั่วโมง ผู้ป่วยกลุ่ม Triptan Non-Responders สามารถพิจารณาการใช้ยากลุ่มนี้เพื่อลดความถี่และความรุนแรงของอาการ และหากคุณกำลังเผชิญปัญหาไมเกรนที่ไม่ตอบสนองต่อยารักษาแบบเดิม การพบแพทย์เฉพาะทางระบบประสาทและสมองอาจช่วยให้คุณได้คำแนะนำที่เหมาะสมและตรงจุด
แนะนำบริการ Tele-Migraine ของแอปพลิเคชัน Smile Migraine
ที่จะช่วยให้คุณเข้าถึงแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกว่า 25 ท่าน จากทั่วประเทศผ่านระบบ Tele-Medicine คุณสามารถปรึกษาแพทย์จากที่บ้านได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
จุดเด่นของบริการ Smile Migraine
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประสาทและสมองที่เข้าใจปัญหาไมเกรนเป็นอย่างดี
- ปรึกษาได้ทุกที่ทุกเวลา เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน
- รับคำแนะนำในการรักษาไมเกรนเฉพาะบุคคล และการประเมินทางเลือกการใช้ยากลุ่มใหม่
อย่าปล่อยให้ไมเกรนเป็นอุปสรรคต่อชีวิตเราอีก นัดปรึกษาแพทย์ง่ายๆ ได้ที่ Smile Migraine เพื่อการใช้ชีวิตที่ไร้ไมเกรน!