สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคนอนไม่หลับ

สัญญาณเตือน ว่าคุณเป็นโรคนอนไม่หลับ

แอดเชื่อเหลือเกินว่าชาวไมเกรนกว่าส่วนใหญ่ มักมีปัญหานอนหลับยาก หรือบางวันก็นอนไม่หลับเลย

ซึ่งสาเหตุหลักๆ มักจะมาจากความเครียด ความกังวล คิดมาก หรือมีเรื่องทุกข์ใจ แต่อีกหนึ่งพฤติกรรม อาจจะมาจากการเล่นมือถือก่อนเข้านอนได้นะ

.

เนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะทำให้ต่อมไพเนียล (pineal gland) สร้างสารเมลาโทนิน (melatonin) น้อยลง มีผลต่อ circadian rhythm หรือนาฬิกาชีวิต ทำให้นอนไม่หลับหรือนอนหลับไม่สนิทได้นั่นเอง

.

ก่อนอื่นเราจะมาทำเข้าใจกันก่อนว่า โรคนอนไม่หลับมันคืออะไรกันนะ?

โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการนอนไม่หลับ หรือหลับไม่สนิท และใช้เวลานานมากกว่า 20 นาทีถึงจะนอนหลับ

.

ในระยะยาวของการเกิดภาวะนอนไม่หลับ อาจจะส่งผลต่อปัญหาทางด้านความทรงจำ อารมณ์ และภูมิคุ้มกันได้นะชาวไมเกรน

.

โรคนอนไม่หลับสามารถแบ่งหลายแบบมากๆ แต่วันนี้ ทีมสไมล์ ไมเกรน จะพามาดูการแบ่งตามลักษณะช่วงเวลาของการนอนไม่หลับกัน

  1. Initial insomnia : ภาวะที่ผู้ป่วยใช้เวลานอนนานกว่าจะหลับ อาจสัมพันธ์กับภาวะวิตกกังวล
  2. Maintinance insomnia : ภาวะที่ไม่สามารถนอนหลับได้ยาวนาน มีตื่นกลางดึกบ่อย อาจเกี่ยวข้องกับปัญหาทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
  3. Terminal insomnia : ภาวะที่ผู้ป่วยตื่นเร็วกว่าเวลาที่ควรจะตื่น

.

วันนี้สไมล์ ไมเกรนจะพาชาวไมเกรนมาติ๊กเช็คลิสกัน ว่าต้องนอนไม่หลับขั้นไหนถึงเรียกว่าเป็น “โรคนอนไม่หลับ” กับ 9 ข้อสัญญาณเตือน ว่าคุณอาจมีโรคร่วมเป็นโรคนอนไม่หลับ

  1. หัวถึงหมอนแล้ว แต่กว่าจะนอนได้ก็ใช้เวลามากกว่า 30 นาที อันนี้ไม่นับว่านอนดูซีรี่นะ อันนี้ยาวกว่า 30 นาทีแน่นอน
  2. แม้จะนอนหลับครบ 7-8 ชั่วโมง แต่ระหว่างวัน เรายังเพลีย อ่อนล้า ไม่สดชื่น พาลทำให้หงุดหงิดง่าย
  3. ตื่นระหว่างคืนบ่อย ในแต่ละคืนก็หลายครั้ง
  4. ง่วงนอนตลอดเวลา และงีบหลับระหว่างวันบ่อยๆ 
  5. สมองไม่ปลอดโปร่ง มึนงง สมาธิสั้น จนทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
  6. หลับกลางอากาศบ่อยๆ อย่างดูทีวีอยู่ดีๆ หลับเฉยเลย 
  7. มีภาวะนอนกรน หายใจหอบดังขณะนอนหลับ
  8. ตื่นเช้ามาก แม้จะนอนดึกขนาดไหนก็ตาม
  9. ชีวิตนี้ขาดกาแฟไม่ได้เลย เพื่อกระตุ้นให้ตื่นตัวตลอดเวลา

.

อ้างอิงจาก American Headache Society ได้บอกไว้ว่า มากกว่า 2 ใน 3 ของชาวไมเกรนมักมีโรคนอนไม่หลับร่วมด้วย และสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นไมเกรนเรื้อรังในอนาคตได้นะ

.

เอ้า ลองเช็คกันหน่อยว่า ตรงกับเรากี่ข้อ ถ้าใครเกินครึ่งนี่ต้องระมัดระวังไว้ ว่าเราอาจจะมีโรคร่วมไมเกรนเพิ่มมาอีก 1 โรค นอกจากไมเกรนแน่ๆเลย แบบนี้ต้องค่อยๆปรับพฤติกรรมการนอนให้มีคุณภาพมากขึ้นน้า

.

นอกจากนั้น สามารถพิจารณาพบคุณหมอได้ เพื่อทำการวินิจฉัยโรคอย่างละเอียดเพิ่มเติมได้ โดยที่คุณหมอจะทำการซักประวัติเกี่ยวกับการนอนหลับ สภาวะร่างกายและจิตใจ นอกนั้นคุณหมออาจจะขอให้ทางผู้ป่วยทำแบบบันทึกการนอน เพื่อทำให้รู้ลักษณะการนอนได้ดีขึ้นนั่นเอง

.

การรักษาโรคนอนไม่หลับ มีหลักๆ อยู่ 2 แบบ

  1. แบบไม่ใช้ยา : จะเน้นในเรื่องของการปรับพฤติกรรมเป็นหลัก ยกตัวอย่างเช่น 

- เข้านอนและตื่นตรงเวลา

- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

- เลี่ยงการใช้เครื่องมือสื่อสารก่อนเข้านอนประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง

- สร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เหมาะกับการนอน ทั้งในเรื่องของแสง เสียง และอุณหภูมิ

- เลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้นก่อนเข้านอน เช่น เล่นเกมส์ ดูหนัง เป็นต้น

.

  1. แบบใช้ยา :

- ยานอนหลับ และยากลุ่มนี้ มักจะมีผลข้างเคียงในเรื่องของง่วงซึมต่อเนื่องมาถึงช่วงเช้า กระบวนการคิด ตัดสินใจลดลง สับสน เบลอได้

.

ซึ่งยากลุ่มนีต้องให้แพทย์เป็นผู้ประเมิน และเป็นผู้จ่ายเท่านั้น เนื่องจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องอาจจะทำให้เกิดอันตราย หรือเกิดภาวะติดยาได้

.

- ยากลุ่ม Melatonin เป็นสารสังเคราะห์ที่จะช่วยให้เกิดการนอนหลับ และทดแทนเมลาโทนินในร่างกายที่ถูกสร้างขึ้นมาอย่างไม่เหมาะสมได้

.

ใครกำลังมองหาตัวช่วย แนะนำเลย Melatonin Gummie ขนาด 5 mg นำเข้าจากประเทศอเมริกา โดยเมลาโทนินตัวนี้อยู่ในรูปแบบของ เยลลี่รสสตอร์เบอรี่ ทานครั้งละ 1-2 เม็ดก่อนเข้านอน 10-20 นาที สำหรับคนที่ต้องการปรับการนอนให้ทานต่อเนื่องประมาณ 3-4 วันก่อน เพื่อให้ร่างกายได้เริ่มปรับตัว หลังจากนั้นสามารถทานเฉพาะวันที่นอนไม่หลับได้นะ

.

ผลข้างเคียงของการทานเมลาโทนิน ที่สามารถพบได้นั่นก็คือ ง่วงนอนระหว่างวัน เวียนศีรษะ หรือคลื่นไส้อาเจียนได้

.

การรักษาโรคนอนไม่หลับ ควรทำใต้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เนื่องจากการพิจารณาทานยาต้องดูเฉพาะบุคคลนั่นเอง


Footer Tele Blog - Ai (6).png

แหล่งที่มา :

https://www.nonthavej.co.th/Insomnia-2.php

https://www.doctorraksa.com/th-TH/blog/melatonin.html

https://www.smilemigraine.com/products/melatonin-gummies

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ