4 ระยะของโรคไมเกรนและวิธีรับมือ

4 ระยะของโรคไมเกรนและวิธีรับมือ

 4 ระยะของโรคไมเกรนและวิธีรับมือ

ไมเกรนไม่ใช่แค่การปวดศีรษะอย่างเดียวเท่านั้น แต่เป็นภาวะที่ซับซ้อนและมีหลายระยะ มาทำความรู้จักกับ 4 ระยะของไมเกรนกันค่ะ

24.07.24- Single Ads - Knowledge.png

1. ระยะบอกเหตุ (Prodrome)

ระยะบอกเหตุหรือ Prodrome เป็นระยะที่เกิดขึ้นก่อนการปวดศีรษะไมเกรน ระยะนี้ร่างกายมักมีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านอารมณ์ การกิน และระบบย่อยอาหาร สัญญาณที่สังเกตได้ง่าย ได้แก่

  • ความอยากอาหารมากกว่าปกติ
  • ท้องผูก
  • หาวบ่อย
  • อารมณ์แปรปรวน

ระยะนี้จะกินเวลาประมาณ 1-2 วันค่ะ

2. ระยะอาการเตือน (Aura)

ระยะอาการเตือนหรือ Aura เป็นระยะที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง มักเกิดขึ้นก่อนประมาณ 5-60 นาทีหรือพร้อมกับอาการปวดหัวไมเกรน อาการเตือนที่พบได้บ่อย ได้แก่

  • การเห็นแสงซิกแซก
  • ตาพร่ามัว
  • ชาปาก แขน หรือขา
  • พูดติดขัด

3. ระยะอาการปวดศีรษะ (Headache)

ระยะนี้เป็นระยะที่ผู้ป่วยไมเกรนทรมานที่สุด การปวดศีรษะอาจเกิดขึ้นได้ยาวนานถึง 72 ชั่วโมง และมีอาการร่วมเช่น คลื่นไส้ อาเจียน และไวต่อแสงเสียง

4. ระยะหลังจากปวดศีรษะ (Postdrome)

ระยะนี้อาการปวดจะทุเลาลง แต่ผู้ป่วยยังคงรู้สึกอ่อนเพลีย หมดแรง เวียนศีรษะ และสับสนได้ อาการคล้ายกับคนแฮงก์

วิธีรับมือกับไมเกรนในแต่ละระยะ

ระยะบอกเหตุ

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด

ระยะอาการเตือน

  • หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป
  • ใช้เทคนิคการผ่อนคลาย เช่น การหายใจลึกๆ

ระยะอาการปวดศีรษะ

  • หลีกเลี่ยงแสงสว่างจ้าและเสียงดัง
  • นอนพักในห้องที่มืดและเงียบ
  • ใช้ยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง

ระยะหลังจากปวดศีรษะ

  • ดื่มน้ำมากๆ เพื่อช่วยในการฟื้นฟูร่างกาย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ไมเกรนเป็นโรคที่มีความซับซ้อน แต่หากเราทำความเข้าใจและเรียนรู้วิธีรับมือกับอาการในแต่ละระยะ เราก็สามารถลดความทรมานจากไมเกรนได้ 

กลับไปยังบล็อก

บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ